มาอ่าน feed แบบนิตยสารบน FireFox กันดีกว่า

ห่างหายจากการอัพบล็อกไปนานเกือบสัปดาห์เลยทีเดียว ตอนี้น้องๆนักศึกษาคงได้ปิดเทอมไปหยุดพักผ่อนกันแล้วนะครับ ส่วนพวกคนทำงานอย่างผมก็ต้องสู้กันต่อปายยยย = =a

     สำหรับกิจกรรมที่ผมทำเป็นสิ่งแรกในตอนเช้าเมื่อมาถึงออฟฟิศนั่นก็คือการเช็คเมล์ เช็คเว็บไซต์ต่างๆว่ามีข่าวอะไรอัพเดทหรือเปล่า อ่านข่าวตามเว็บข่าวบ้าง ซึ่งกว่าจะเข้าไปอ่านหมดก็กินเวลาไปเกือบชั่วโมงแล้ว = =a(อู้ตั้งแต่เช้าเลยตรู) จนมาสังเกตุว่าเออ เว็บพวกนี้มันก็มี Feed ให้อ่านนี่นา ทำไมไม่อ่านจาก feed หล่ะ ถ้าข่าวไหนน่าสนใจค่อยคลิ๊กเข้าไปอ่านต่อ คงประหยัดเวลาได้พอสมควร  เอาล่ะเรามาหาอุปกรณ์อ่าน Feed กันเลยครับ…………

          สำหรับตัว RSS Reader ที่ผมเลือกมาในวันนี้เป็นหนึ่งใน Extension ของ FireFox 3 ซึ่งเป็นบราวเซอร์ที่ผมใช้อยู่เป็นประจำนะครับ RSS Reader ตัวนี้มีชื่อว่า Feedly ครับ โดยจุดเด่นของันคือทำงานเหมือนเป็นหน้านิตยสาร สามารถโยงข้อมูลของ Google Reader และ Twitter ,Delicious และ YouTube เข้าด้วยกัน หากชอบใจก็กดแชร์(Facebook,Twitter)ได้ทันที จะส่งอีเมล์ก้ได้ง่ายๆ มีเรตติ้ง อยู่ที่ 5/5 ดาวเลยทีเดียวครับ

image

สำหรับการติดตั้งก็เหมือนการติดตั้ง Extension ปกติของ Firefox นะครับ

ติดตั้งไฟล์คลิ๊กที่นี่ครับ (ต้องใช้ Firefox นะครับ)ลั้นลา

หน้าตาของโปรแกรม

การเรียกใช้งานให้คลิ๊กตรงรูป image Feed สีเขียวที่อยู่ข้างปุ่ม Home นะครับ (ปกติจะอยู่ข้าง Address bar) คลิ๊กแล้วจะได้หน้าตาแบบนี้ครับ (ผมปรับแต่งบ้างแล้วในบางส่วนด้วยการเอา feed ที่ไม่ต้องการออก และเพิ่ม feed ใหม่เข้าไป)

image

จะเป็นหน้าที่ลิงค์เข้าไปเว็บไซต์ www.Feedly.com  ครับ จากนั้นให้เราลงทะเบียนใหม่หรือจะล็อกอินด้วย Google Account (Gmail) ก็ได้ครับ (เดี๋ยวนี้บัญชี Gmail ใช้ได้กับหลายเว็บแล้วนะครับ  ใครยังไม่มีผมแนะนำว่าให้รีบสมัครไว้ดีกว่านะครับ)

สำหรับหน้าแรกก็จะแสดง Feed ของเว็บไซต์ที่น่าสนใจครับ แบ่งเป็นหมวดหมู่ไว้แล้ว ที่แน่ๆเป็นภาษาอังกฤษครับ 555

image

    ตัวอย่างฟีด มีรูปประกอบด้วยนะเออ เลิฟๆ

LOG IN

           ถ้าเราล็อกอินด้วย Google Account จะเจอหน้าตาอินเทอร์เฟซแบบนี้ครับ

image

  พอล็อกอินแล้วก็ แต่น..แต๊นเลิฟๆ

image

หน้าตาดูเหมือนพวกนิตยสารออนไลน์เลยทีเดียว เมนูหลักๆมี 2 ส่วนนะครับคือ

1.Menubar  สำหรับแสดงชื่อ Account ของเรา, Add source – เพิ่ม Feed , Organizer Source – จัดการ Feed (เอา feed ออก), Preference – การตั้งค่าการทำงานของ Feedly ต่างๆ,การเพิ่ม/เปิด/ปิด การทำงานของโมดูล, @feedly – เป็น Twitter ของ feedly ครับ แล้วส่วนสุดท้าย Signout ไว้ลงชื่ออกครับ (ถ้าเป็นเครื่องส่วนตัวผมแนะว่ากดปิดหน้าไปเลยครับ เวลาเปิดมาคราวหน้ามันจะล็อกอินให้อัตโนมัติ ไม่ต้องเสียเวลามาล็อกอินใหม่อีก)

2.Categories bar (ขอเรียกแบบนี้หล่ะกันนะครับ) ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆคือ 1.Style มีทั้งหมด 4 แบบคือ Cover,digest,latest และ Popular

     Style

1.Cover (หน้าปก) – เป็นการออกแบบให้เหมือนกับข้อมูลในนิตยสารครับ อ่านง่าย มีจุดเด่นๆอยู่พอสมควรเลยทีเดียว

image 

2.Digest (รูปแบบลดขนาด) – ออกแบบให้เหลือเพีงข้อมูลที่สำคัญ (ที่เราชอบอ่านครับ) ส่วนใหญ่จะมาจาก Feed ที่เรา Add เพิ่มเข้าไปครับ

image

3.Latest – จะแสดง Feed ล่าสุดที่ดึงมาครับ เหมาะกับคนชอบติดตามสถานการณ์เร่งด่วนเหมือนตาม Twitter อย่างไรอย่างนั้นเลยทีเดียว

image

4.Popular (ยอดนิยม) – พูดง่ายๆคือ บทความที่มีคนโหวตเยอะครับ (ถ้าโหวตจะมีสัญลักษ์รูปมืออย่างนี้ครับ image)

image

 

         ส่วนที่ 2 จะเป็นประเภทของ Feed ครับว่าเนื้อหาของเว็บไซต์ อยู่แบบไหน เช่น IT,Drama,Web 2.0 อื่นๆ ซึ่งตอนแรกทาง Feedly เค้ามีติดตั้งมาให้เราแล้วส่วนหนึ่งครับ  (สามารถปรับแต่งได้เหมือนกัน)

image

ตัวอย่าง Categories ของ Photography ครับ

         ส่วนที่ 3 จะเป็นเมนูการใช้งานส่วนตัวของเรา ที่น่าจะใช้กันบ่อยก็คือ At a glance, Saved Item, History ครับ

at a glance

image

เหมือนเป็นดัชนีว่ามีฟีดอะไร ฟีดที่ยังไม่ได้อ่านมีเท่าไร

Saved – แสดงเพจที่เราได้คั่นหน้าเก็บเอาไว้ครับ

image

 

Share – แสดงหน้าที่เราได้แชร์ผ่านทาง Social Network (Twitter,Facebook หรือทางอีเมล์ครับX

image

History – แสดงประวัติว่าฟีดอะไรที่เราอ่านล่าสุดครับ

image

 

การใช้งานจริง

        เกริ่นมาตั้งนาน ถึงเวลาทดลองอ่าน feed กันซะที (ถ้าเป็นกระดาษนี่คงหมดไปหลายหน้าแล้ว หุหุ)

วิธีอ่านก็แค่คลิกที่หัวข้อที่เราจะอ่าน (ดังในรูปครับ)

image

จากนั้นมันก็จะเด้งหน้ามาให้เราอ่านในเพจนั้นเลยครับ (ไม้ต้องเปิดลิงค์ในแท็บอื่นเลย) อย่างเว็บที่ผมเปิด (www.Drama-addict.com)

สามารถที่จะดึงข้อมูลทั้งหมดมาได้โดยไม่ต้องเข้าไปที่เว็บดราม่าเลยครับ สุโค่ย

image

   image

ต่อไปเรามาดูเครื่องมือเล็กๆที่อยู่ข้างขวากันมั่งนะครับ เป็นปุ่มมีอยู่ทั้งหมด 9 ตัว แบ่งเป็น 3-4-2 ครับ เรียงตามลำดับดังนี้นะครับ

1.image Recomended เป็นเหมือนการกดโหวตให้ครับ พอโหวตเสร็จคะแนนก็จะขึ้นที่โพสต์นั้นๆ image ยิ่งคะแนนมากก็จะไปเข้าตรง Popular ครับ

2.image Save for later หมายถึงการเก็บไว้อ่านทีหลังครับ อย่างเราอ่านไม่จบแต่อยากอ่านต่อแต่กลัวจำไม่ได้ว่าจะไปอยู่ตรงไหนแล้วเพราะแต่ละวัน feed เข้ามามากเกินไปก็กดตรงนี้เลยครับ จะเป็นเหมือนที่คั่นหน้าแล้วเวลาจะอ่านก้ไปเปิดตรง saved ที่อยู่ Categories bar

3.image minimize and hide เป็นการย่อฟีดที่เราอ่านแล้วและซ่อนมันไม่ให้ออกมารกหูรกตาเราครับ

 

4.image Google Mail คือการส่งเมล์ที่มีลิงค์ของเพจนี้ไปให้เพื่อนดูผ่านทางgmail

image

5.image Twitter   ใช้ Tweet เพจนี้ขึ้นบน Twitter ของเราครับ

6.image facebook ใช้ ส่งลิงค์เพจขึ้นบนหน้าเฟซบุ๊คของเราครับ

image

7.image share on delicious, tumble, evernote and more  ไว้แชร์บน social web app อื่นๆครับ

  กดเสร็จจะมีไอคอนย่อๆ ออกมาอีกครับ เช่่น image google Buz, image Delicious, image Tumblr

 

8.image Minimize  เอาไว้ย่อหน้าฟีดที่เราอ่านกลับไปอย่างเดิมครับ

9.image Next Article บทความถัดไป

 

การ Add feed

         เกือบเลิกเขียนไปล่ะ ลืมหัวข้อนี้ซะสนิทเลย เอ๋

1.คลิ๊กที่ add source บนเมนูบาร์ครับ

image

จะขึ้นหน้าต่างเล็กๆแบบนี้

image

2.ป้อน feed ลงในช่องครับ จากนั้นคลิ๊กที่ Preview เพื่อทำการพรีวิวว่าฟีดนั้นใช้ได้หรือไม่

image

       ถ้าชอบก็คลิ๊กตรง +Sibscribe เลยครับ

image

     จากนั้นจะขึ้น POP UP มาให้ลงรายละเอียด

image

พอเลือกเสร็จเราก็จะมี feed อ่านแล้วครับ 555  ส่วน Organize Source ลองทำกันเองนะครับ ไม่ยากเทาไรหรอก ^ ^

 

    เป็นไงครับ  จากที่อธิบายมาคร่าวๆปนละเอียดนิดๆคิดว่าเพื่อนๆคงใช้งานกันไม่ยากเท่าไรนะครับ คงประหยัดเวลาในการเข้าเว็บทุกๆวันลงได้เพราะข้อมูลที่อัพเดตเขามาอยู่ใน feedly แล้ว  แล้วเจอกันใน App ดีๆฉบับถัดไปนะครับ ^ ^

จุดเด่น

  1. ทำงานออนไลน์บนรูปแบบ Web 2.0 มีอินเตอร์เฟสที่สวยงามเหมือนอ่าน eMagazine
  2. สามารถแชร์เพจให้เพื่อนๆอ่านได้ทั้งทาง email, Twitter, Facebook และอื่นๆ
  3. สามารถคั่นหน้าเพจเก็บไว้อ่านทีหลังได้
  4. เรื่องไหนโดนใจ โหวตได้ครับ
  5. สามารถจัดการ feed ทั้งเพิ่มและลบได้ง่ายมากๆครับ
  6. มีประวัติเก็บไว้ว่าเราอ่านอะไรไปแล้วบ้าง
  7. เรื่องไหนฮ็อต เรื่องไหนมาล่าสุด รู้ได้ทันที

จุดด้อย

  1. มันทำงานแบบออนไลน์ครับ ถ้าไม่มีเน็ตนี่ง่อยสนิทเลย ต่างจาก RSS Reader ที่ดึงข้อมูลมาเก็บไว้

 

ความจริงจุดเด่นยังมีอีกเยอะครับ แต่อยากให้ลองใช้เองดีกว่า

 เลิฟๆSee Me in Facebook Click!เลิฟๆ

ใส่ความเห็น